การผสมเกสรจำเป็นสำหรับการติดผลของต้นกาแฟ

ต้นกาแฟอะราบิกา (Coffea arabica) จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าเศรษฐกิจมากกว่า 180 ล้านบาท อย่างไรก็ตามพบว่าพื้นที่ปลูกกาแฟเพิ่มขึ้นซึ่งสวนทางทั้งกับผลผลิตดังตารางที่ 1 และการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟในตลาดโลก

โดยทั่วไปต้นกาแฟอะราบิกามากกว่าร้อยละ 90 ปลูกในบริเวณพื้นที่สูงของภาคเหนือและออกดอกในช่วงเดือนเมษายนและเริ่มติดผลผลเชอรรี่กาแฟหลังจากผ่านกลไกในการผสมเกสรที่หลากหลายได้แก่ ผสมเกสรด้วยได้ตัวตัวเอง (autogamy) ลม (wind) และผู้ผสมเกสร (pollinators)2 และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ โดยปริมาณของเชิรรี่กาแฟขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่นจำนวนต้น การจัดการแปลง3

ตารางที่ 1 พื้นที่ปลูกและผลผลิตเชอรรี่กาแฟระหว่างปีพ.ศ. 2562-2564; ที่มา1

ทำไมต้องผสมเกสร

บทความทางวิชาการต่างๆ ชี้ชัดว่าผู้ผสมเกสรจำพวกแมลงมีบทบาทสำคัญต่อเพิ่มผลผลิตพืชอาหารหลักที่สำคัญทั่วโลกร้อยละ 87.54 โดยสามารถเพิ่มผลผลิตมากกว่าการไม่ใช้แมลงผู้ผสมเกสร หนึ่งในผู้ผสมเกสรที่สามารถเลี้ยงและจัดการรังให้สามารถควบคุมตามต้องการได้คือ ผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) ซึ่งสามารถหาอาหารและผสมเกสรภายในรัศมี 2 กิโลเมตร5 นอกจากนี้พบว่าสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างมีนัยยะสำคัญ แม้ว่ากาแฟอะราบิกาสามารถผสมเกสรด้วยตัวเองได้ การใช้แมลงผู้ผสมเกสรเพื่อร่วมผสมเกสรสามารถเพิ่มน้ำหนักของเชอรรี่และคะแนนคุณภาพของเครื่องดื่มกาแฟ6, 7

คำตอบของหัวข้อของบทความได้ถูกตั้งขึ้นว่าการใช้ผู้ผสมเกสรโดยเฉพาะผึ้งพันธุ์ในบริบทของประเทศไทยนั้นมีความจำเป็นหรือไม่ต่อผลผลิตกาแฟอะราบิกา ทีมวิจัยกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ทำการศึกษาเบื้องต้นด้วยการเพิ่มจำนวนผึ้งพันธุ์ในพื้นที่ปลูกกาแฟคลอบคลุมช่วงการบานของดอกกาแฟโดยมีการคุมปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่อายุต้นกาแฟ แหล่งปลูก และทำการเก็บข้อมูลผลผลิตดังรูปที่ 1 เปรียบเทียบกับที่ต้นกาแฟที่คลุมต้นด้วยตาข่ายเพื่อป้องกันการช่วยผสมเกสรของผึ้งพันธุ์ จากผลการศึกษาเบื้อต้นพบว่าการติดเมล็ดกาแฟ (เมล็ดเขียว) เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.03 น้ำหนักของผลกาแฟสุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.19 อย่างมีนัยยะสำคัญ

จากคำถามสู่ข้อสรุป

ในบริบทของประเทศไทยการขนรังผึ้งพันธุ์ไปยังแหล่งปลูกกาแฟระหว่างช่วงการบานของดอกพบว่าต้นกาแฟที่ได้รับการผสมจากผึ้งพันธุ์ช่วยให้การติดผลของและน้ำหนักของเมล็ดกาแฟ มีค่าเฉลี่ยมากกว่าต้นกาแฟที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือของผู้ผสมเกสร อย่างไรก็ตามภายในแหล่งปลูกกาแฟอาจจะมีผู้ผสมเกสรอื่นๆ นอกจากผึ้งพันธุ์ ซึ่งหากมีความหลากของผู้ผสมเกสรยิ่งทำให้คุณภาพของผลผลิตกาแฟดีขึ้น8

ดังนั้นการใช้ผึ้งพันธุ์เพิ่มความหลากหลายของผู้ผสมเกสรในแหล่งปลูกเป็นหนึ่งในทางเลือกของผู้ปลูกกาแฟเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพเชอรรี่กาแฟ ก่อให้เกิดความยั่งยืนของผู้ปลูกกาแฟและเพียงพอต่อการบริโภค/ส่งออกกาแฟของประเทศไทย

เอกสารอ้างอิง

  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (Office of Agricultural Economics) ปี 2564
  • H.T. Ngo, A.C. Mojica, and L. Packer (2011) Coffee plant – pollinator interactions: a review Can. J. Zool. Can. J. Zool. 89: 647–660 
  • Rahmanta, S Purba and T Supriana (2019) Factors affecting the production of arabica coffee of smallholder plantations in Dairi District IOP Conf. Series: Earth and Environmental Science 260 012007
  • Ollerton J, Winfree R, Tarrant S. 2011 How many flowering plants are pollinated by animals?Oikos 120, 321–326. (doi:10.1111/j.1600-0706.2010.18644.x)
  • Visscher PK, Seeley TD (1982) Foraging strategy of honey bee colonies in a temperate deciduous forest. Ecology 63:1790–1801
  • Karanja, Rebecca & Njoroge, Grace & Kihoro, John & Gikungu, Mary & Newton, L.E.. (2013). The Role of Bee Pollinators in Improving Berry Weight and Coffee Cup Quality. Asian Journal of Agricultural Sciences. 5. 52-55. 10.19026/ajas.5.4841.
  • Hipólito, J., Nunes, D.O., Angel-Coca, C. et al. Performance, Effectiveness, and Efficiency of Honeybees as Pollinators of Coffea arabica (Gentianales, Rubiaceae). Neotrop Entomol 49, 501–510 (2020). https://doi.org/10.1007/s13744-020-00785-8
  • Wissarut Sukhaket1 , Phawini Khetnon2and Duangthip Kantha 2020 The role of wild pollinators enhancing the sustainable productivity and quality of arabica coffee in agroforestry International Jounal of Science and Innovative Technology Volume3 Issue1 January – June 2020 69