เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จัด MFU Coffee fest 2024 และการประชุมวิชาการ หัวข้อ พัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟไทยอย่างยั่งยืน ณ อาคารพลเอกสำเภา ชูศรี (E4) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดย นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และ ศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา วงศ์เกษมจิตต์รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมเปิดงาน โดยมี ดร.อมร โอวาทวรกิจ หัวหน้าหัวหน้าโครงการศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและการจัดการห่วงโซ่คุณค่ากาแฟประเทศไทย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน โดยกิจกรรมนี้มีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย เกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจกาแฟ บุคลากรจากภาครัฐและภาคเอกชน นักวิชาการ นักวิจัยและผู้ที่สนใจ
สำหรับการจัดงานประชุมวิชาการ หัวข้อ “การพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟไทยอย่างยั่งยืน” ภายใต้โครงการ ศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและการจัดการห่วงโซ่คุณค่ากาแฟประเทศไทย หรือ Hub of Knowledge ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์ความรู้ด้านกาแฟที่เกี่ยวข้องกับการผลิตกาแฟพิเศษ
- เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตกาแฟพิเศษ
โดยในการจัดงานครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรทั้ง 14 ท่าน ร่วมบรรยายความรู้ หัวข้อ การพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟไทยอย่างยั่งยืนในด้านต่างๆ ดังนี้
- ทิศทางวิจัยของกาแฟไทย และบทบาทของ Coffee hub of knowledge โดย ดร.อมร โอวาทวรกิจ อาจารย์สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- การเพิ่มมูลค่ากาแฟไทยด้วยเทคโนโลยีการหมักและ BCG โดย ดร.โกเมศ สัตยาวุธ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร
- ผลผลิตกาแฟอะราบิกาสายพันธุ์ลูกผสมประเทศเวียดนาม โดย Ms. Hang Le, Deputy of Detech coffee
- สายพันธุ์และการจัดการแปลงกาแฟโรบัสต้าแบบ Regenerative farming โดย คุณทาธฤษ กุณาศล บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด
- สถานการณ์การผลิตกาแฟโรบัสต้าในเขตภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.คริษฐ์สพล หนูพรหม คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
- กระบวนการผลิตและเทคโนโลยีการหมักในการผลิตกาแฟอะราบิกา โรบัสต้าและลิเบอริกา โดย Tunjung Mahatmanto PhD, University Brawijaya ประเทศอินโดนีเซีย
- คุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ และการประเมินรสชาติของกาแฟลิเบอริกา โดย Wenny Bekti Sunarharum PhD, University Brawijaya ประเทศอินโดนีเซีย
- แนวทางการผลิตกาแฟเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย โดย ดร.ทัศนีย์ ธรรมติน รองผู้อำนวยการสถาบีนถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
- แนวทางการผลิตกาแฟเพื่อความยั่งยืนของประเทศอินโดนีเซีย โดย Imas Suryati Klasik bean, Indonesia
- การจัดการและควบคุมแมลงศัตรูในแปลงกาแฟของประเทศไทย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวลักษณ์ จันทร์บาง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- การระบุชนิดและการประเมินคุณภาพจากองค์ประกอบเคมีของเมล็ดกาแฟไทย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพล แสงระยับ อาจารย์ประจำสำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการผลิตกาแฟ โดย คุณภัทรวุฒิ ม่วงมณี บริษัท เดอะโคขครีเอชี่น จำกัด และ ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ ดร.ชินวัชร์ สุรัสวดี บริษัท ซีพีเอส เวเธอร์ จำกัด
- การจัดการและการใช้ประโยชน์ของเหลือใช้จากกระบวนการผลิตกาแฟ โดย ดร.ณัฐพงศ์ ตัณติวิวัฒนพันธ์ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากการบรรยาย ความรู้ในหัวข้อด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟไทยอย่างยั่งยืน ทางศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและการจัดการห่วงโซ่คุณค่ากาแฟประเทศไทย ได้จัดการประชุมเครือข่ายกาแฟ โดยผู้เข้าร่วมประกอบด้วย บุคลากรจากภาครัฐและภาคเอกชน นักวิชาการ นักวิจัย และผู้ประกอบการธุรกิจกาแฟ เพื่อหารือการสร้างเครือข่ายและรวบรวมองค์ความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตกาแฟ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟไทยให้ยั่งยืน
ทั้งนี้ในวันที่ 16 มีนาคม 2567 ยังมีกิจกรรม Coffee Farm Tour เยี่ยมชมแปลงกาแฟ วิสาหกิจห้วยชมภู โรงแปรรูปกาแฟพิเศษ Akha Le Coffee และ Yayo cafe ณ จังหวัดเชียงราย ให้แก่ผู้ที่สนใจ เพื่อผู้เข้าเยี่ยมชมได้รู้จักกระบวนการผลิตกาแฟตั้งแต่กระบวนการปลูกไปจนถึงการแปรรูปเมล็ดกาแฟ