pitsarut

กิจกรรมสร้างเครือข่ายร่วมเกษตรกร

กิจกรรมสร้างเครือข่ายร่วมเกษตรกร ในวันที่   6 กรกฎาคม 2567 ได้ลงพื้นที่การผลิตกาแฟปางขอนร่วมกับเกษตรกรในเครือข่าย โดยได้รับความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญเครือข่ายจาก Indonesian Coffee and Cocoa Research Institute (ICCRI) และ Klassik bean จากประเทศอินโดนีเซีย ลงพื้นที่แปลงปลูกกาแฟ พบว่ามีประเด็นเรื่องการจัดการแปลงกาแฟ โดยทางศูนย์กาแฟฯ ได้หารือเบื้องต้นจะจัดอบรมร่วมกับ Indonesian Coffee and Cocoa Research Institute (ICCRI) โดย Miss Dini Astika Sari Executive Vice President Indonesian Coffee and Cocoa Research Institute เรื่องการบริหารจัดการแปลงอะราบิกาและโรบัสต้าทั้งเป็นการพัฒนาบุคลากรในศูนย์และเกษตรกรที่เป็นเครือข่าย

การเสวนาเรื่องการสร้างมูลค่ากาแฟไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

นักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หัวหน้าศูนย์ฯ นักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และนายกสมาคมกาแฟพิเศษไทยกวิจัยร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในหัวข้อ การสร้างมูลค่ากาแฟไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 เวลา 16.00 – 16.00 น. มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหารือเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพและมูลค่าของกาแฟไทย โดยเน้นถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟของประเทศ โดยมีการเสวนาเรื่อง           1. สถานการณ์กาแฟไทยปัจจุบันที่นำเสนอภาพรวมของอุตสาหกรรมกาแฟไทย ทั้งในแง่ของปริมาณการผลิต คุณภาพของเมล็ดกาแฟ และแนวโน้มการบริโภคภายในประเทศ รวมถึงการส่งออกและภาพลักษณ์ของกาแฟไทยในตลาดโลก           2. นิยามกาแฟคุณภาพ โดยเฉพาะกาแฟพิเศษ (Specialty Coffee) ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สายพันธุ์กาแฟ สภาพแวดล้อมในการปลูก การแปรรูป และการคั่ว นอกจากนี้การได้มาของกาแฟคุณภาพขึ้นกับปัจจัยที่ เช่น การค้นหาสายพันธุ์ที่ดี การจัดการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และเทคโนโลยีการแปรรูป โดยเฉพาะการใช้จุลินทรีย์ในการหมักกาแฟ           3. การชิมและบรรยายรสชาติกาแฟพิเศษ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสกับรสชาติของกาแฟคุณภาพจริง มีการจัดการชิมกาแฟพิเศษควบคู่ไปกับการอธิบายถึงลักษณะรสชาติที่แตกต่างกันของแต่ละสายพันธุ์และวิธีการแปรรูป …

การเสวนาเรื่องการสร้างมูลค่ากาแฟไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Read More »

นิทรรศการกาแฟในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว. แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND)

ภายในงานอว.แฟร์จัดกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ต่อกาแฟคุณภาพแบ่งออกเป็น 1. บูธนิทรรศการแสดงผลงานข้อมูลการแปรรูปกาแฟด้วยจุลินทรีย์ ระหว่างวันที่ 23-28 กรกฎาคม 2567 โดยมีการให้ข้อมูลการแปรรูกาแฟด้วยจุลินทรีย์สามารช่วยเพิ่มกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างกันออกไปซึ่งสามารถทำได้ด้วยการหมักด้วยวิธีธรรมชาติ ได้แก่ wash process/honey process และ nature process ทำให้กาแฟมีลักษณะกลิ่นรสที่เฉพาะและแตกต่างกันโดยการควบคุมอุณหภูมิและอากาศ หรือวิธีการเติมหัวเชื้อโดยขึ้นกับสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่ใช้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นยีสต์และแบคทีเรียที่สร้างกรดแลคติก เป็นต้นและการดมกลิ่นกาแฟในแต่กระบวนการผลิต โดยมีกาแฟตัวอย่างจากแต่ละกระบวนการผลิตให้ผู้เข้าชมได้ชิ 2. กิจกรรมย่อย Innovation: Coffee Processing, Brewing and Design ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2567          เวลา 13.00-14.00 น. ที่สร้างการรับรู้ให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นถึงความหลากหลายและความซับซ้อนของกาแฟพิเศษ ตั้งแต่กระบวนการผลิตที่มีการนำจุลินทรีย์ มาช่วยระหว่างการแปรรูปแบบต่างๆ  เช่น natural, honey และ wash process) เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไปจนถึงขั้นตอนการแบบออกรสชาติที่ต้องการของกาแฟผ่านการชงแบบ pour over ที่ต้องเลือกใช้อุปกรณ์และเทคนิคที่เหมาะสม การได้ทดลองชิมกาแฟที่หลากหลายชนิดและผ่านอุปกรณ์ชงแบบต่าง ๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้และเข้าใจถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อรสชาติของกาแฟอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น นอกจากนี้กิจกรรมนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจและชื่นชมกาแฟคุณภาพสูงมากขึ้น 3. …

นิทรรศการกาแฟในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว. แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND) Read More »

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนากาแฟพิเศษด้วยเทคโนโลยีจุลินทรีย์ต่อรสชาติกาแฟ

จัดกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้จากนักวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และสมาคมกาแฟพิเศษไทย ในหัวข้อการพัฒนากาแฟพิเศษด้วยเทคโนโลยีจุลินทรีย์ต่อรสชาติกาแฟ ซึ่งการแปรรูปกาแฟด้วยจุลินทรีย์สามารถช่วยเพิ่มกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างกันออกไปซึ่งสามารถทำได้ด้วยการหมักด้วยวิธีธรรมชาติ ได้แก่ wash process/honey process และ nature process รวมถึงความปลอดภัยจากการใช้เทคโนโลยีการหมัก นอกจากนี้ยังมีการให้ชิมรสชาติของกาแฟจากการเพิ่มมูลค่าด้วยเทคโนโลยีการหมัก ให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการและนักวิจัยที่สนใจ รวมทั้งสิ้น 30 คน ในงาน Thailand Coffee Fest 2024 วันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุม Venus อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี จังหวัดปทุมธานี

ประชุมวิชาการ Tea and Coffee International Conference 2024

ทางศูนย์กลางการเรียนรู้เรื่องกาแฟ ได้ร่วมจัดงานประชุมวิชาการ The 2nd  Tea and Coffee International Symposium 2024 (TCIS2024)  and the 3rdInternational Congress on CoCoa Coffee and Tea Asia เมื่อวันที่ 4 – 5 กรกฎาคม 2567 และได้มีการจัดนำเสนอผลงานวิจัยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเครือข่ายที่เข้าร่วมงานประชุมและบรรยายทั้งหมด 10 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาน่านและลำปาง มหาวิทยาลัยพะเยา บริษัท CP all มหาชน สมาคมกาแฟพิเศษไทย เกษตรหลวงเชียงใหม่ สมาคมกาแฟไทย บริษัท Klassik bean บริษัทพานาคอฟฟี่ และเครือข่ายใหม่ด้านงานวิจัยกาแฟจำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย Indonesian Coffee and Cocoa Research Institute (ICCRI) และ Northern Mountainous Agriculture and …

ประชุมวิชาการ Tea and Coffee International Conference 2024 Read More »

กิจกรรม MFU Coffee fest 2024 และการประชุมวิชาการ หัวข้อ “พัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟไทยอย่างยั่งยืน”

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จัด MFU Coffee fest 2024 และการประชุมวิชาการ หัวข้อ พัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟไทยอย่างยั่งยืน ณ อาคารพลเอกสำเภา ชูศรี (E4) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดย นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) นางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และ ศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา วงศ์เกษมจิตต์รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมเปิดงาน  โดยมี ดร.อมร โอวาทวรกิจ หัวหน้าหัวหน้าโครงการศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและการจัดการห่วงโซ่คุณค่ากาแฟประเทศไทย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน โดยกิจกรรมนี้มีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย เกษตรกร  ผู้ประกอบการธุรกิจกาแฟ  บุคลากรจากภาครัฐและภาคเอกชน นักวิชาการ นักวิจัยและผู้ที่สนใจ สำหรับการจัดงานประชุมวิชาการ หัวข้อ “การพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟไทยอย่างยั่งยืน” ภายใต้โครงการ ศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและการจัดการห่วงโซ่คุณค่ากาแฟประเทศไทย หรือ Hub of …

กิจกรรม MFU Coffee fest 2024 และการประชุมวิชาการ หัวข้อ “พัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟไทยอย่างยั่งยืน” Read More »

การประชุมวิชาการ หัวข้อ “การพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟไทยยั่งยืน”

กำหนดการ การประชุมวิชาการ หัวข้อ “การพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟไทยยั่งยืน” วันที่ 15 – 16 มีนาคม 2567 ณ อาคารพลเอกสำเภา ชูศรี (E4) หมาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

กิจกรรมอบรมการแปรรูปและการชิมกาแฟ fine โรบัสต้า

วันที่ 21 ธันวาคม 2566 ทางศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและการจัดการห่วงโซ่คุณค่ากาแฟประเทศไทยร่วมกับสถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้จัดกิจกรรมอบรมการแปรรูปและการชิมกาแฟ fine โรบัสต้า โดย คุณธนวัฒน์ แซ่หลิน เป็นวิทยากรในเครือข่าย กาแฟปักษ์ใต้ ได้ให้ความรู้ในเรื่อง สายพันธุ์กาแฟ การแปรรูป กระบวนการหมัก และการฝึกทักษะการชิมกาแฟ แก่นักวิจัย ผู้สนใจและเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ

กิจกรรมสร้างเครือข่ายความร่วมมืองานวิจัยกาแฟกับบริษัทเนสเล่ ประเทศไทย

ระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2566 ทางคณะทำงานของศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและการจัดการห่วงโซ่คุณค่ากาแฟประเทศไทยได้ร่วมกิจกรรมกิจกรรมสร้างเครือข่ายความร่วมมืองานวิจัยกาแฟกับ บริษัทเนสเล่ ประเทศไทย เพื่อรับฟังข้อมูลโครงการ “เนสกาแฟ แพลน 2030” การขับเคลื่อนเกษตรเชิงฟื้นฟู (Regenerative Agriculture)”  และได้เยี่ยมชมสถานีวิจพันธุ์กาแฟและกิจกรรมภายในสวนกาแฟของเกษตรกร

นวัตกรรมจากเปลือกกาแฟ

ประเทศไทยมีกำลังการผลิตกาแฟได้ถึง 24,614 ตันต่อปี โดยแบ่งเป็นกาแฟโรบัสตา ร้อยละ 79 และ อะราบิก้า ร้อยละ 21 (ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2562) ในผลเชอรี่กาแฟ 1 ผล หากไล่มาจากด้านนอกเข้าไปจนถึงส่วนในสุดดังแสดงในรูปที่ 1 จะประกอบไปด้วย ผิวและเปลือกกาแฟ ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องเมล็ดกาแฟ ถัดมาเป็นส่วนมิวซิเลจ หรือส่วนเมือก เป็นชั้นเนื้อเยื่อห่อหุ้มกะลากาแฟไว้ โดยในชั้นนี้จะมีโปรตีนและน้ำตาลอยู่สูง ถัดเข้ามาอีกชั้นจะเป็นส่วนกะลากาแฟและซิลเวอน์สกิน เป็นส่วนสุดท้ายที่คอยปกป้องเมล็ดกาแฟที่อยู่ข้างใน และ ชั้นในสุดคือกาแฟสาร หรือเมล็ดกาแฟนั่นเอง ระหว่างการผลิตกาแฟสารนั้น ส่วนที่เป็นเปลือกกาแฟ ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมีมากถึงร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก ซึ่งถือเป็นของเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีปริมาณมากที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตกาแฟสารแบบ Wet process ซึ่งหากคิดจากการผลิตกาแฟในจังหวัดเชียงราย ที่มีกำลังผลิตเชอร์รี่กาแฟอยู่ที่ประมาณ 8,000 ตันต่อปีแล้ว ปริมาณเปลือกกาแฟที่เหลือทิ้งหลังการผลิตกาแฟสาร อาจมีมากถึง 4,000 ตัน ต่อปี โดยเปลือกกาแฟเหล่านี้บางส่วนถูกนำไปผลิตเป็นปุ๋ย อาหารสัตว์ หรือทิ้งให้ย่อยสลายตามธรรมชาติซึ่งใช้เวลานานและเป็นปัญหาเรื่องกลิ่นที่เกิดขึ้นระหว่างการย่อยสลายอีกด้วย อย่างไรก็ดีในส่วนที่เป็นเปลือกกาแฟนั้นมีมูลค่ามากกว่าการนำไปเป็นปุ๋ย หรือปล่อยให้ถูกย่อยสลายตามธรรมชาติ เนื่องจากในเปลือกกาแฟนั้น มีองค์ประกอบที่เป็นโปรตีน …

นวัตกรรมจากเปลือกกาแฟ Read More »